มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้รับบทบาทหน้าที่ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนและประสานงานกับหน่วยงานสนองพระราชดำริโครงการ อพ.สธ. ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยมีเขตพื้นที่ดูแลรับผิดชอบทั้งสิน 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา 8 อำเภอ และจังหวัดชัยภูมิ ทั้งจังหวัด
ดำเนินงานสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ. ของมหาวิทยาลัย และภายใต้แผนแม่บท อพ.สธ.ของมหาวิทยาลัย
ประสานงานและขับเคลื่อนงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. (ลูกข่าย) และหน่วยงานภายนอก (ภาครัฐ จังหวัด กรมต่าง ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ฯลฯ และภาคเอกชน)
เป็นหน่วยรวบรวมฐานข้อมูลทรัพยากร ได้แก่ ฐานทรัพยากรกายภาพ ฐานทรัพยากรชีวภาพ และฐานทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ในงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. (ตามแนวทางการดำเนินงานในกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร)
ดำเนินงานการจัดฝึกอบรมให้กับสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อพ.สธ. ดำเนินการตามกรอบนโยบายในการช่วยสนับสนุน อพ.สธ. ขยายผลในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรได้ต่อไป
ดำเนินงานการจัดฝึกอบรมให้กับสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ. ดำเนินการตามกรอบนโยบายในการช่วยสนับสนุน อพ.สธ. ขยายผลในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรได้ต่อไป
วางแผนและปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงาน ตามแผนแม่บท อพ.สธ. สนองพระราชดำริโดยมหาวิทยาลัยและสามารถใช้งานสนองพระราชดำรินี้ไปสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัย เช่น การเรียน การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น
ปัจจุบันมีศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. หลายแห่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีอยู่ทั้งสิ้น 5 แห่ง ได้แก่
เป็นหน่วยงานสนับสนุนและประสานงานด้านการสนองพระราชดำริในโครงการ อพ.สธ. ของจังหวัด
เป็นหน่วยงานฝึกอบรมปฏิบัติการหรือการประชุมกลุ่มสมาชิกเกี่ยวกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางในการฝึกอบรมปฏิบัติการหรือการประชุมกลุ่มสมาชิก ได้แก่ ปูพื้นฐาน ต่อยอด เติมเต็ม พัฒนา และวัดประเมินผล รวมถึงการสร้างความเข้าใจและติดตามการดำเนินงานของสมาชิกเป็นระยะ
เนื้อหาในการอบรมของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ควรมีเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ในการฝึกอบรม มีเนื้อหาหลักที่ถูกต้องตามขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการ และมีเนื้อหาเสริมของแต่ละท้องถิ่นตามบริบทของศูนย์ประสานงาน โดยมีการทำแผนร่วมกันระหว่างศูนย์ประสานงานกับ อพ.สธ. ศูนย์ประสานงานควรจัดการอบรมหรือประชุมกลุ่มไม่น้อยกว่า 4 ครั้งต่อปี โดยมีวิทยากรที่ได้รับใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมและวัดผลจาก อพ.สธ. ว่ามีคุณสมบัติสามารถเป็นวิทยากรได้ รวมถึงผู้ช่วยวิทยากรด้วยเช่นกัน